ศูนย์พัฒนาสุขภาพและทักษะกลไกการเคลื่อนไหว

ประวัติศูนย์พัฒนาสุขภาพและทักษะกลไกการเคลื่อนไหว
ประวัติและความเป็นมาศูนย์พัฒนาสุขภาพและทักษะกลไกการเคลื่อนไหว เดิมเป็นชมรมกีฬากรีฑา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะผู้ฝึกสอนนำโดย รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ ในขณะนั้น (ปัจจุบัน ศ.เจริญ กระบวนรัตน์) ได้นำหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ในการพัฒนานักกีฬากรีฑาของชมรม จนประสบความสำเร็จในการแข่งขันกรีฑาในระดับต่าง ๆ

ในปี พศ. 2538 นายมาโนช บุตรเมือง นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นนักกีฬาของชมรมกรีฑาในขณะนั้น ได้ทำงานวิจัยประกอบการทำวิทยานิพนธ์เปรียบเทียบผลการฝึกสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาว่ายน้ำระดับเยาวชน ภายใต้การให้คำปรึกษาของ รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ โดยนำนักกีฬาว่ายน้ำระดับเยาวชนเข้าฝึกตามแผนการฝึกที่วางไว้ ซึ่งปรากฏผลว่านักกีฬาที่เข้าร่วมการฝึกสามารถทำสถิติในการซ้อมดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และประสบความสำเร็จในการแข่งขัน หลังจากการทำวิจัยวิทยานิพนธ์ได้เสร็จสิ้นลง นักกีฬาว่ายน้ำส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมฝึกต่อ และสามารถพัฒนาสถิติจนเข้าร่วมทีมชาติไทยได้ในที่สุด นับเป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดศูนย์พัฒนาสุขภาพและทักษะกลไกการเคลื่อนไหวในเวลาต่อมา

ในปี พศ. 2539 ได้มีนักกีฬาประเภทอื่น ๆ ได้ขอเข้ามาร่วมฝึกเพิ่มมากขึ้น เช่นนักกีฬาเทนนิสทั้งในระดับเยาวชนและระดับอาชีพ นักกีฬาแบดมินตัน นักกีฬากอล์ฟ ชมรมกีฬากรีฑาจึงแยกการทำงานในส่วนของการพัฒนาสมรรถภาพนักกีฬาออกมาเป็น ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพนักกีฬา เป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดชมรมกรีฑา มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ จากความสำเร็จในการแข่งขันของนักกีฬาที่เข้าร่วมฝึกกับศูนย์ ฯ ผู้ปกครองของนักกีฬาจึงได้ร่วมกันจัดหาอุปกรณ์การฝึกต่าง ๆ มาบริจาคให้กับศูนย์ ฯ เพื่อใช้ในการฝึกของนักกีฬาต่อไป

ในปี พศ. 2543 จากการที่ได้มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสการฝึกซ้อมของนักกีฬาในสนามซ้อมและการแข่งขันของนักกีฬาสนามแข่งขันจริง ทำให้ศูนย์ฯ ได้พบเห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่ยังเป็นปัญหาของนักกีฬาเหล่านั้น ศูนย์ ฯ จึงได้ปรับเพิ่มรูปแบบการฝึกจากการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพเพียงอย่างเดียว มาเป็นการฝึกทักษะกลไกการเคลื่อนไหวและพัฒนาสมรรถภาพให้กับนักกีฬา เพื่อเติมเต็มและแก้ไขข้อบกพร่องนักกีฬาในด้านการเคลื่อนไหวให้ลดน้อยลง รวมทั้งการนำสมรรถภาพที่มีอยู่ไปใช้ในสนามแข่งขันได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด และได้เปลี่ยนชื่อศูนย์ ฯ มาเป็นศูนย์ฝึกสมรรถภาพและกลไกการเคลื่อนไหว เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติงานของศูนย์ ฯ ทั้งนี้ยังเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดชมรมกรีฑา มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

ในปี พศ. 2547 ศูนย์ ฯ ได้เริ่มรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ หรือบุคคลออทิสติคเข้าร่วมในการฝึก โดยมีเป้าหมายในการนำการฝึกการเคลื่อนไหวมาเป็นการฝึกเพื่อพัฒนาคุณภาพและความสามารถของสมอง ในปีนี้ ศูนย์ ฯ ได้แยกตัวออกมาจากชมรมกรีฑา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความชัดเจนมากขึ้น และเปลียนชื่อเป็นศูนย์พัฒนาทักษะและกลไกการเคลื่อนไหว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในขณะเดียวกันที่จำนวนนักกีฬาที่เข้ามาร่วมฝึกได้เพิ่มจำนวนและประเภทกีฬามากขึ้น ทำให้ศูนย์ ฯ เริ่มงานในด้านพัฒนาบุคคลากรเพื่อเข้ามารองรับปริมาณงานงานที่เพิ่มมากขึ้น

ในปี พศ. 2549 ศูนย์ ฯ ได้เริ่มรับบุคคลที่มีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ และผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่มีความกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง เข้ามารับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยต่างๆ เหล่านั้น รวมทั้งฟื้นฟูความสามารถของสมองให้กลับมาเป็นปกติให้มากที่สุด

ในปี พศ. 2551 ศูนย์ ฯ ได้รับการจัดตั้งให้เป็นหน่วยงานของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเปลี่ยนชื่อศูนย์ฯ เป็น ศูนย์พัฒนาสุขภาพและทักษะกลไกการเคลื่อนไหว ในสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
This image for Image Layouts addon

วิสัยทัศน์

             ศูนย์พัฒนาสุขภาพและทักษะกลไกการเคลื่อนไหว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความเป็นเลิศในการให้บริการทางด้านการเสริมสุขภาพ การพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ การพัฬนาความสามารถของบุคคลพิเศษ การเผยแพร่ความรู้นวัตกรรมทางการกีฬาและสุขภาพ เพื่อตอบสนองกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่เกรียรติคุณและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

พันธกิจ

  1. ส่งเสริมให้สมาชิกและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้และวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง และมีสุขภาพดี
  2. พัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นพัฒนาสมองในบุคคลพิเศษให้การพฒนาการสูงขึ้น และฝกฝนในบุคคลพิเศษเหล่านี้สามารถเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
  3. พัฒนาสมรรถภาพและความสามารถของนักกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในการเข้าร่วมแข่งขันในระดับต่างๆ
  4. เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ และนวัตกรรมการกีฬาและสุขภาพ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมุ่งหวังให้เกิดเป็นวิธีชีวิตของประชาชนในสังคมอย่างยั่งยืน

การดำเนินการศูนย์พัฒนาสุขภาพและทักษะกลไกการเคลื่อนไหวที่ผ่านมา

This image for Image Layouts addon

การพัฒนานักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ

         ดำเนินการพัฒนานักกีฬาระดับยุวชนและเยาวชนเพื่อความเป็นเลิศ รวมทั้ง ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย ในการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกสมรรถภาพเพื่อพัฒนานักกีฬาในสมาคมกีฬาต่าง ๆ เพื่อเตรียมนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์และโอลิมปิคเกมส์

 

การให้บริการในด้านการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยและแก่บุคคลทั่วไปที่มีปัญหาด้านสุขภาพ

         ดำเนินการให้การช่วยเหลือและพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพให้กับบุคลากรอาวุโสของมหาวิทยาลัยรวมทั้งบุคคลภายนอกที่มีปัญหาด้านสุขภาพเช่นโรคเบาหวานโรคมะเร็ง ผู้ป่วยจากอุบัติเหตุที่มีผลกระทบกระเทือนทางสมอง โดยนำการออกกำลังกายแบบต่างๆ มาฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงของระบบหายใจไหลเวียนเลือดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการฝึกการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง

 

การพัฒนาบุคคลพิเศษและเด็กปฐมวัย

         จากการที่บุคลากรของศูนย์ฯ ได้มีโอกาสเข้าร่วมในโครงการพัฒนาความสามารถคุณพุ่ม เจนเซ่น พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ทำให้พบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีบุคคลพิเศษที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันศูนย์ฯ ได้พัฒนาบุคลากรเฉพาะทางสำหรับบุคคลพิเศษ โดยการนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาด้านการฝึกสมรรถภาพและกลไกการเคลื่อนไหว มาประยุกต์ในการสร้างอุปกรณ์การฝึกและแบบฝึกต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคคลพิเศษและเด็กปฐมวัยที่มีภาวะทางสมองปกติแต่มีแนวโน้มทางสุขภาพที่ไม่ดี ให้มีการพัฒนาการทางด้านต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้บุคคลพิเศษเหล่านั้นสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขและพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี

 

การให้บริการทางวิชาการแก่สังคมสาธารณะ

         ดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน กลุ่มสร้างเสริมสุขภาพในท้องถิ่นทั่วประเทศ บริษัท ห้างร้าน โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โรงเรียน ฯลฯ ให้ความรู้ด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกานเพื่อพัฒนาสมอง ทั้งนี้โดยยึดแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างสรรอุปกรณ์การออกกำลังกายที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น การออกกำลังกายด้วยยางยืด การฝึกด้วยตาราง 9 ช่อง ฯลฯ

 

การให้บริการทางด้านเอกสารวิชาการ สื่อสารมวลชน

         ศูนย์ ฯ ได้จัดพิมพ์เอกสารทางวิชาการ โดยร่วมกับสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) พิมพ์แจกจ่ายเป็นวิทยาทานให้แก่ผู้สนใจ รวมทั้งพิมพ์จำหน่าย โดยนำรายได้ทั้งหมดหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศล

         ด้านสื่อสารมวลชน ศูนย์ ฯ ได้ร่วมกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนต่าง ๆ ผลิตสื่อทางโทรทัศน์ออกอากาศเผยแพร่ความรู้ทางด้านสุขภาพ การกีฬา ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์

 

การฝึกงาน

         นอกจากนี้ ศูนย์ ฯ ยังได้รับนิสิต นักศึกษาจากสถาบันทางการพลศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ฝึกสอนกีฬาประเภทต่าง ๆ จากสโมสรกีฬาที่สนใจในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง โดยเข้าร่วมการฝึกประสบการณ์และเรียนรู้ในการเป็นผู้ฝึกสอนอีกด้วย

คณะกรรมการ/ผู้สอน

This image for Image Layouts addon

Introducing
IMAGE LAYOUTS ADDON

This image for Image Layouts addon

Introducing
IMAGE LAYOUTS ADDON

This image for Image Layouts addon

Introducing
IMAGE LAYOUTS ADDON

This image for Image Layouts addon

Introducing
IMAGE LAYOUTS ADDON

ติดต่อภาควิชา

อาคาร 3 ชั้น 1 ห้องธุรการ 1-104
ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เลขที่
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

โทรศัพท์ 02-942-8671
โทรสาร
02-942-8671
Email: xxxxxxx@ku.ac.th

© 2022 ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Powered by MDSoft